สทน. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)โครงการเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและเรียนรู้กัญชา – กัญชงทางการแพทย์

วันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๔

สทน. ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)โครงการเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและเรียนรู้กัญชา – กัญชงทางการแพทย์

ระหว่าง กระทรวงสาธารณสุข ( เขตสุขภาพที่ ๘ ) สถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) และ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA)
เพื่อพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ใน ๗ จังหวัดเขตสุขภาพที่ ๘ พร้อมทั้งส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวเชิงการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness Tourism) และประชุมแผนการดำเนินงานเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและเรียนรู้กัญชา – กัญชงทางการแพทย์ เขตสุขภาพที่ ๘ ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น ๕ สำนักงานเขตสุขภาพที่ ๘ และประชุมผ่านระบบ Application Zoom
โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภก. อนันต์ชัย อัศวเมฆิน คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ ๘ นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข คุณธนพล ชีวรัตนพร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) คุณไพรัตน์ ห่านศรีสุข อุปนายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) และ ดร.นพ. ปรเมษฐ์ กิ่งโก้ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ ๘ คุณรุจิรัศมิ์ ฉัตรเฉลิมกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เป็นผู้ร่วมลงนามเป็นพยาน
โดยการประชุมนั้นมีการสรุปเส้นทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและเรียนรู้กัญชา-กัญชงได้มีการสรุปร่วมความเข้าใจกันในการพัฒนาของแต่ละภาคส่วน โดยทางภาคเอกชนจะจัดสรรหาเส้นทางที่น่าสนใจและสามารถต่อยอดได้ในอนาคตกับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรประกอบกันเสน่ห์ในแต่ละท้องที่มาเป็นตัวชูโรงสร้างความสนใจให้กับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความสนใจในการรักษาและบำบัดโดยใช้สมุนไพรไทรและวิถีการรักษาดั้งเดิมโดยแพทย์แผนปัจจุบันผนวกเข้าด้วยกัน ทางด้านสาธารณสุขจะก็จะให้ความรู้ทางด้านกัญชา-กัญชงแก่ผู้ประกอบการนำเที่ยวเพื่อที่จะให้บุคลากรท่องเที่ยวมีความรู้เพิ่มเติมและต่อยอดได้ ประกอบกับช่วงโควิด-๑๙ ท่านที่ปรึกษารัฐมนตรีกล่าวว่าการตรวจATKโดยให้สาธารณสุขเป็นศูนย์กลางเพียงผู้เดียวนั้นจะทำให้ไม่สะดวกต่อการเดินทางแบบหมู่คณะและนำเที่ยวไปยังท้องที่ต่างๆ จึงเกิดความคิดว่า หากแนะนำให้มัคคุเทศก์นั้นได้ความรู้ในการตรวจATK และป้องกันCovid-๑๙ นั้นจะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการท่องเที่ยวภายใต้สถานการณ์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และ ในส่วนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็จะช่วยผลักดันสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละแห่งให้มีความพร้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องห้องน้ำ พื้นที่รองรับ และความพร้อมต่างๆจะช่วยผลักดันให้มีความพร้อมเพิ่มมากยิ่งขึ้น ทำให้ ๓ หน่วยงานนั้นจะสามารถดำเนินการผลักดันการท่องเที่ยวไปได้อย่างเรียบร้อยและยั่งยืนต่อไปในอนาคต