
สทน. ร่วมประชุมหารือแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบโควิด ๑๙ ระลอกใหม่
ในนามสมาคม สทน นำโดย นายก ธนพล เข้าร่วมประชุมกับ ท่าน รมต พิพัฒน์ รัชกิจประการ ท่านปลัดกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ท่านผู้ว่าการท่องเที่ยว และ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด รวมถึง ๕ สมาคมท่องเที่ยวภาคเอกชน ซึ่งทางสมาคมฯได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในที่ประชุมและจดหมายเปิดผนึกซึ่ง ท่าน รมต.จะนำต่อท่าน นายกรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ต่อไป โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบโควิด ๑๙ ระลอกใหม่
เรียน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวกีฬา
สืบเนื่องจาก สถานการณ์โควิด ๑๙ แพร่ระบาดระลอกใหม่ ทำให้มีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวอย่างสูงมากกว่าการเกิดปัญหาในระลอกแรก เพราะการเกิดการระบาดระลอกใหม่นี้ เนื่องจาก
· ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้ใช้เงินสะสมหรือเครดิตทางการเงินที่มีอยู่หมดไปกับการแพร่ระบาดครั้งแรกที่ใช้กว่า หกเดือนจึงเริ่มมีการกลับมาฟื้นฟูกิจการ
· การจ้างพนักงานในช่วง ๑-๒ เดือนของพนักงาน และ จะต้องหยุดกิจการอีกครั้งทำให้บริหารต้นทุนได้ยาก
· ความเชื่อมั่นในภาคการท่องเที่ยวหายไป นักท่องเที่ยวเกิดความกังวลและไม่กล้าเดินทาง
ดังนั้นทางสมาคมฯจึงได้หารือกับสมาชิกผู้ประกอบการในด้านต่าง ๆ และนักวิชาการเพื่อนำเสนอแนวทางแนวทางแก้ไขปัญหาโดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
· การควบคุมโรคระบาดระลอกใหม่ให้ควบคุมและปลดล็อกการเดินทางทั่วประเทศไม่เกินเดือนกุมภาพันธ์
· กิจกรรมภาคการท่องเที่ยวในประเทศเริ่มต้นเดือนมีนาคม
· ใช้กลไกหรือนโยบายภาครัฐที่มีอยู่มาปรับปรุงรองรับสถานการณ์เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพสูงสุด
· นโยบายที่ทำให้ทุกคนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
โดยมีแนวทางนำเสนอดังต่อไปนี้
- การปรับใช้วงเงินกู้ ๒๐,๐๐๐ ล้านที่เหลือมาใช้ในมาตรการที่ต้องทำเร่งด่วน
- ภาคการท่องเที่ยว ต้องการแนวทาง การควบคุมโควิด และ เงื่อนไขเวลา ที่ชัดเจน
เพื่อความเชื่อมั่น
- มาตรการป้องกันการระบาดระลอกใหม่ ในอนาคต
- การหยุดพัก ชำระหนี้ รัฐบาล ๑-๒ ปี โดยภาครัฐรับภาระดอกเบี้ย ที่เกิดขึ้น
- เงินกู้ซอพโลน
- รัฐบาล ร่วมรับ ภาระการจ่ายเงินเดือนพนักงาน ๒-๔ เดือน
- ขยายเวลาการยื่นภาษีประจำปี ๖๓ ไปถึงเดือน สิงหาคม ๖๔
- การเพิ่มเงื่อนไขโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน”ให้บริษัทนำเที่ยวเข้าไปใช้บริการเพื่อรองรับการเดินทางแบบคณะได้โดยมีมาตรการในการตรวจสอบความถูกต้องโปร่งใสที่ชัดเจน
- จัดตั้ง กองทุนเพื่อการท่องเที่ยว ๑๐๐,๐๐๐ ล้าน ( รูปแบบกองทุนหมู่บ้าน)
- การจัดจ้างแรงงานภาคการท่องเที่ยวทำงานฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเป็นการชั่วคราวจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ อัตรา ๒ เดือน
- โครงการ เที่ยวคนละครึ่ง ผ่านแอพพลิเคชั่น คนละครึ่ง โดยเปิดให้บริษัทนำเที่ยวขึ้นสมัครเป็นร้านค้า และ มีวง
- งบประมาณ ให้จังหวัด ปลอดโควิด จัดอีเว้นท์ กระตุ้น ตลาดตลาดภายในจังหวัด จังหวัดละ ๕ ล้าน
- หลังปลอด โควิด เที่ยวเพื่อชาติ รัฐจ่าย ๕๐% คนละ ๓,๐๐๐บาท ๒ ล้านคน( เดินทางเป็น แพ็คเกจทัวร์)
- เที่ยวไทยวัยเก๋า ผลักดันเดินหน้าต่อไป
ทั้งนี้การตัดสินใจในการดำเนินการทางสมาคมฯให้เป็นไปตามกฎระเบียบของทางภาครัฐที่เห็นควรและพิจารณาต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา