สทน. เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการการการคุ้มครองผู้บริโภค

 วันพุธที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔

ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ(สผ.) ๔๐๔ ชั้น๔ อาคารรัฐสภา
เวลา ๐๙.๓๐ - ๑๓.๐๐ น.
 
นายธนพล ชีวรัตนพร นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ มอบหมายให้ นายวิระ คงเย็น อุปนายกสมาคมฯ และนางสิรินดา สิริเสถียร อุปนายกสมาคมฯ เป็นตัวแทนสมาคมฯ เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการการการคุ้มครองผู้บริโภค
 
หัวข้อ "พิจารณาแนวทางและมาตรการในการช่วยเหลือธุรกิจภาคการท่องเที่ยวและร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค"
 
โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมดังนี้
๑. ตัวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
๒. ตัวแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
๓. กรมบังคับคดี
๔. ธนาคารแห่งประเทศไทย
๕. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
๖. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
๗. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด มหาชน
๘. ธนาคารกรุงไทย จำกัด มหาชน
๙. ธนาคารทิสโก้ จำกัด มหาชน
๑๐. สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA)
๑๑. สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.)
๑๒. สมาคมโรงแรมไทย
๑๓. สมาคมธุรกิจร้านอาหาร
๑๔. สมาคมภัตตาคารไทย
๑๕. สมาคมผู้ประกอบการรถขนส่งทั่วไทย
 
โดยตัวแทนของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ได้นำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงข้อเรียกร้องต่อภาครัฐดังนี้
๑. การถูกลูกค้าร้องเรียน/ฟ้องร้อง กรณีกรุ๊ปออกเดินทางไม่ได้และไม่สามารถคืนเงินได้ทันที จากกรณีการระบาดของ covid-๑๙
๒. supplier เช่น สายการบิน โรงแรม ไม่คืนเงิน/หักค่าใช้จ่ายไม่เป็นธรรม
๓. มีกฎหมาย และหน่วยงานคุ้มครองลูกค้ามากมาย แต่ไม่มีหน่วยงานไหนคุ้มครองนิติบุคคลตัวกลางอย่างบริษัททัวร์ ต้องฟ้องร้องกันทางแพ่งอย่างเดียว
๔. ต้องการให้ก่อตั้งหน่วยงาน ที่สามารถดูแลแบบบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเช่น บริษัททัวร์ โรงแรม รถ สายการบิน ไกด์ ฯลฯ จะได้ง่ายต่อการจัดการ
๕. ไม่สามารถจ่ายค่าจ้างลูกจ้างได้อีก เนื่องจากการระบาดถึง ๓ รอบ รายได้ไม่มี และสิ่งที่รัฐเคยจะออกมาตรการเพื่อช่วยจ่ายค่าจ้างให้ครึ่งนึง เมื่อปลายปีที่ผ่านมา แต่ติดเงื่อนไขตรงที่จะต้องรักษาลูกจ้างเก่าไว้ ๘๕% นั้น ในความเป็นจริงมันแทบเป็นไปไม่ได้ ไม่น่าจะมีองค์กรไหน รักษาการจ้างงานไว้ได้ถึง ๘๕% ในขณะที่ไม่มีรายได้ยืดเยื้อมาเกือบ ๖-๗ เดือน
๖. ต้องการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (softloan)ที่ลดเงื่อนไขการเข้าถึง เช่น เพิ่มการค้ำของ บสย. เป็น ๕๐% และสามารถใช้สินทรัพย์ส่วนบุคคลค้ำร่วมได้
๗. ต้องการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (softloan) รายละ ๓-๕ ล้านบาท
๘. คาดการณ์ว่า ไตรมาส ๓ ประมาณ กรกฎาคม ๒๕๖๔ น่าจะเริ่มเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศกันได้ จึงอยากให้ผลักดันเรื่อง Soft loan ที่ลดเงื่อนไขแล้วออกมาให้ทันกับช่วงเดินทางนี้ เพื่อนำมาใช้บริหารจัดการ และรองรับโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ
๙.เสนอแนะเรื่องวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดยาว เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดแบบกลุ่มใหญ่ อยากใ้ห้รัฐบาลกำหนดห้ามเดินทางช่วงวันสำคัญนั้น แต่รัฐบาลจะต้องกำหนดจำนวนวันหยุดแล้วให้แต่ละองค์กร ไปกำหนดวันหยุดชดเชยกันเอง